Wednesday, December 19, 2012

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)



การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)
                   ค่าสถิติ t-test ใช้ในการทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม เพื่อทดสอบสมมติฐาน ในความแตกต่างระหว่างเพศกับความคิดเห็นต่อปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้สนามกอล์ฟ กรณีศึกษา : สนามกอล์ฟราชนาวีพูลตาหลวงและสนามกอล์ฟฟีนิกซ์ กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ
                   ค่าสถิติ One Way ANOVA ใช้ในการทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่โดยใช้การวิเคราะห์ Post Hoc แบบ Least Significant Difference (LSD) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ในความแตกต่างระหว่าง อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพกับความคิดเห็นต่อปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้สนามกอล์ฟกรณีศึกษา : สนามกอล์ฟราชนาวีพูลตาหลวงและสนามกอล์ฟฟีนิกซ์ กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic)



การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic)                                                                       
                   1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ
 (Percentage)  
                   2. ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)  ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency)  ร้อยละ (Percentage)
ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

การวิเคราะห์ข้อมูล



การวิเคราะห์ข้อมูล
                   การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ตอน คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยใช้วิธีการประมวลผลค่าทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูล และตอบวัตถุประสงค์ ดังนี้

การเก็บรวบรวมข้อมูล



การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้                                                                  
              1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)   ศึกษาจากผู้รับบริการสนามกอล์ฟ โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน                                                                     
              2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  ศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ และเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง                               
                   3. จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามไปจำนวน  400 ชุด โดยมีแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา และมีความสมบูรณ์ จำนวน  400 ชุด คิดเป็น  100  เปอร์เซ็นต์